วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

GOLD Demand&Supply and Price estimate for 2013-2014(Source:The Economist)


 พอดีได้อ่านบทวิเคราะห์ของทางThe Economist ซึ่งมีตัวเลขเกี่ยวกับทองด้วยก็เลยนำมาให้อ่านเพลินๆ ชีวิตมีขึ้นมีลง ทองก็เช่นกัน ในช่วงปี 2012 เป็นช่วงปีที่ทองไซด์เวย์ในภาพหลัก และบวกเพิ่มจากปีก่อนน้อยสุดในรอบหลายปี ซึ่งจะมีผลพวงตามมาหลายอย่างทั้งการลดพอร์ต และลดประมาณการด้วยเหตุผลทางเทคนิค ซึ่งก็เป็นปกติที่เมื่อราคามันไม่ขึ้นต่อเนื่องก็ถูกปรับประมาณการลง ไม่ค่อยเกี่ยวกับดีมานด์ซัพพลายจริงเท่าไหร่แต่จะกระเทือนทางด้านอารมณ์
จากตารางแรก เราจะเห็นตัวเลขดีมานด์หรือความต้องการใช้ทองในรูปแบบต่างๆ และของประเทศต่าง ๆ 
ในเชิงการใช้งาน การอุตสาหกรรมและทันตกรรมค่อนข้างทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงแต่ในด้านจิวเวอรี่น้อยลงเป็นลำดับตั้งแต่ปี 2010 ผมเข้าใจเอาเองว่าเป็นผลมาจากระดับราคาที่สูงขึ้นในช่วงปีนั้นๆ ราคาขึ้นคนก็บริโภคน้อยลง แต่โดยประมาณการแล้วตลาดเครื่องประดับจะกลับมาดีขึ้น 
เมื่อจำแนกตามประเทศจีนกับอินเดียคือสองประเทศที่บริโภคทองสูงสุดโดยมีสหรัฐตามมาห่างๆ
อินเดียวมีการบริโภคน้อยลงเป็นลำดับแต่จีนทรงตัวน้อยลงไม่มาก โดยจากทั้งสองประเทศนี้ถูกประมาณการไว้ในปีนี้และปีหน้าว่าจะบริโภคเพิ่มขึ้น ที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนคืออเมริกาที่ลดลงอย่างมากแต่ทรงตัวในช่วงปี 2013 - 2014 โดยรวมแล้วความต้องการทองในช่วงปี 2010 เพิ่มขึ้น 12.5 % แต่พอ 2011 กลับมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 1.4% และเมื่อถึงปี 2012 ความต้องการใช้ทองกลับลดลงโดยติดลบไป 7.4% กล่าวคือคนทั้งโลกต้องการทองน้อยลง ส่วนปี 2013 กับ 2014 ถูกคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย 3.3 % และ 4% ตามลำดับ

มามองในด้านการผลิตกันบ้างค่อนข้างสอดคล้องกับ ความต้องการที่ ผลิดเพิ่มขึ้น 7.8 % ในปี 2010 และลดลงในปี 2011 ทรงตัวในปี 2012 และถูกคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2013 2014


เมื่อเปรียบเทียบโดยภาพรวมแล้ว มีการผลิตรองรับการบริโภคไว้เหลือเฟือ จะมีปัญหาการขาดแคลนทองก็ปี 2011 ถ้าจำไม่ผิดช่วงนั้นเห็นบรรดาร้านทองบ่นๆ ว่าทองไม่พอๆ 

มาถึงตารางสุดท้าย การเปลี่ยนแปลงของราคาทอง เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในปี 2011 และลดลงในปีที่ผ่านมาและถูกคาดหมายว่าในปี 2013 จะยังบวกเล็กน้อยที่ 4.7% ตามตารางราคาเฉลี่ยที่ถูกคาดหมายไว้คือช่วงราว 1700 - 1750 และเป็นลบในปี 2014 เป็นลบที่ 5.9% ราคาเฉลี่ยเป็น 1600 - 1650 (แน่ใจว่าใส่ตัวเลขไม่ผิดปีใช่ไหม2013 เป็น 2014 หรือเปล่า) ด้วยเหตุผลว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นตัวไปผลักดันให้ดอกเบี้ยทยอยปรับขึ้น ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยลบต่อทอง 
สรุปแล้วจากเนื้อหาทั้งหมดมีมากกว่านี้ผมนำเพียงภาพและคำอธิบายประกอบมานิดหน่อย ท่านที่อยากทราบรายละเอียดทั้งหมดต้องอ่านจากเว็บนี้ครับ Click ต้องบอกว่าโดยรวมแล้ว ไม่ค่อยมีข่าวดีๆ มาสนับสนุนเท่าไหร่เลยในช่วงนี้ครับ และถ้ามองจากรอบระดับรายปีแล้วการที่ทองจะกลับไป 1900 อาจจะยังต้องรออีกนานกันเลยทีเดียว แต่บทวิจัยนี้มีช่องโหว่บางอย่าง  ช่องโหว่ที่ว่ามันขาดดีมานด์ซัพพลายในส่วนของธนาคารกลางไปครับซึ่งก็ถูกในบางแง่ที่ไม่นำมารวม เพราะเค้าพยายามกันตัวเลขจากฝั่งธนาคารออกจากตลาดซื้อขายทั่วไปเพราะมันกระเทือนตลาดมากซื้อขายกันทีละ 10 ตัน 100 ตัน แต่จะปฏิเสธถึงความมีผลกระทบต่อตลาดไม่ได้เพราะถ้าเค้าต้องการทองเข้าไปไว้ในมือจริงๆ มันก็ไม่พ้นต้องมาเอาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของภาคการผลิตอยู่แล้ว ถือว่าความต้องการซื้อและขายจากธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้นเมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนแล้วก็มากอยู่ 

Wealthstation 15.2.56


ทองทรุดตัวหลุดแนว 1638 - 1640 ลงมาทำจุดต่ำใหม่ใกล้โลว์ก่อนหน้าที่ 1626 แบบ ซึมๆ ไม่มีดีด มีเด้งในระดับที่น่าพอใจ
ระยะเป้าหมายที่จะลงไปถึงอยู่โซนระหว่าง 1618 -1625 เป็นจุดหนึ่งที่เราจะดูอาการว่ามีแรงเข้าหนุนที่ดีพอหรือไม่ครับ
แนวต้าน 1639 1645 1652
แนวหนุน 1630 1625 1618 1612
เที่ยงนี้มีตัวเลขเกี่ยวกับทองๆ จากบทวิจัยของทาง "The Economist" มาให้อ่านครับผม


วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Mainframe 14.2.56

มาเช็คอาการในภาพหลักกันครับ หลังจากที่ราคาทองลงมาแหย่แนวรับ ลองดูว่าจะสร้างเป็นฐานได้เมื่อไหร่เพื่อกลับขึ้นไป เท่าที่เป็นมันกลับทางกันคือมันพยายามสร้างฐานเพื่อให้ลงต่อไปเรื่อยๆ ฟังดูแย่ครับ แต่ในเรื่องแย่ๆ อาจมีเรื่องดีๆ รออยู่ครับ มีขึ้นก็มีลง ขึ้นแรงก็ลงแรง มันเป็นเรื่องจริง



เป็นภาพของแนวต้านหลักที่มี 1,667 1,692 1,705 1,735 1,754 ให้ไว้เผื่อใช้



เป็นภาพของแนวหนุนซึ่งช่วงนี้คงต้องมาตามดูแนวพวกนี้เพื่อสังเกตแรงซื้อที่เข้ามาหนุน นับตั้งแต่ทองหลุด 1700 ลงมาแล้วยังกลับไปไม่ได้ราคาทองยังไม่เจอแรงซื้อที่แนวรับดีพอจะทำให้กลับตัวเลย ยกเว้นที่แนว 1625 ที่เป็นจุดต่ำสุดเดิม ถ้าลงมาแตะแนว 1625 แล้วแรงดีเราคงคาดหวังว่ามันจะไม่หลุด 1650 ได้อีกซักระยะนึงครับ โดยรวมๆ แล้ว ราคาทองมีแนวรับที่ 1629 1608 1590 ซึ่งการลงมาแต่ละระดับจะเป็นเรื่องราวที่แตกต่างกันไปครับ ซึ่งยังต้องดูอีกทีว่าลงมายังไง เด้งแบบไหน ที่จุดไหน แล้วจะบอกได้ว่ากลับตัวหรือจะรีบาวด์กลับมาที่ตรงไหนได้บ้าง


เป็นภาพของอินดิเคเตอร์สองตัวแรกก่อนครับ ด้านบนเป็น MACD Oscillator ซึ่งยังอยู่แดนลบจะให้สัญญาณซื้อเมื่อแท่งเหลืองตัดเส้นน้ำเงินขึ้นไปได้ครับ ซึ่งตอนนี้ยัง  
อีกตัว MACD  มีสัญญาณดีๆ อยู่บ้างแม้จะเทียบกับลูกใกล้เคียงแล้วจะลูกใหญ่กว่าแต่ถ้าเทียบกับลูกก่อนหน้าที่เป็นจุดต่ำบริเวณ 1625 1635 แล้วไม่ลึกนัก ทำให้มองว่าถ้ามีสัญญาณจาก MACD Os พอจะตามไปได้ครับ มีลุ้นฟื้นตัวได้ครับ 


ลำดับต่อมาที่ Sto กับ RSI สำหรับ Sto ยังลงไม่สุด อยากให้ลงสุดครับ ลงสุดแล้วตัดขึ้นน่าจะเป็นสัญญาณซื้อที่น่าสนใจโดยเฉพาะเมื่อเกิดกับแนวรับที่ให้ไว้
สำหรับ RSI ตอนนี้อยู่บริเวณ 35 - 40 ซึ่งเป็นแนวนึงที่รับอยู่แล้วเด้งกลับไปได้หลายครั้งตั้งแต่ลงมาจาก 1797 
โดยรวมแล้วระดับอินดิเคเตอร์นั้นทรงตัวอยู่ในระดับที่ดีกว่าครั้งที่ลงมา 1635 1625 ครั้งก่อนครับ ทำให้ช่วงนี้ผมระวังพอควร ระวังว่าจะดีดขึ้นนะครับ ถ้าเริ่มมีแรงและทรงดี คงตามขึ้นไปขายตรงแนวต้านครับ




เป็นภาพของค่าเงินบาทซึ่งในช่วงนี้เริ่มทรงตัวไม่ส่งผลต่อราคามากๆ อย่าในช่วงต้นเดือนมกราคมกรอบเงินบาทคือ 29.7 29.73 29.8 29.83 29.87 29.9 โดยระยะยาวแล้ว เงินบาทไม่น่าเกินกว่า 30.5 - 30.7 และจะค่อยๆ แข็งค่าขึ้นในอนาคต ช่วงนี้คงทรงตัวหลังเริ่มไกล่เกลี่ยและพูดคุยมากขึ้นเกี่ยวกับ Currency War 


 เมื่อพูดถึง Currency War แล้ว ก็เลยเอาทิศทางค่าเงินสกุลหลักๆ มาให้ดูว่าที่ผ่านมาในช่วงไม่นานนี้เป็นกันอย่างไรบ้าง 
เนื่องจากช่วงนี้เวลาอ่านบทวิเคราะห์ผมจะเก็บทิศทางค่าเงินสกุลเหล่านี้มาด้วยครับ ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษหรือ Great Britain ที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง แบบเงียบๆ ไม่กระโตกกระตากเหมือนเงินเยนญี่ปุ่นที่ ธนาคารประเทศต่างพุ่งเป้าไปที่นโยบายที่ประกาศหลังรู้ผลเลือกตั้งนายกญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดทางอเมริกาก็ออกมาหนุนว่าเห็นด้วยและช่วยให้เงินเยนอ่อนเพื่อให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกลับฟื้นเสียทีหลังจากตบสลบเหมือด ซึมมากว่า 10 ปี ทางเบอร์นันเก้เองก็บอกไว้ว่าการที่ญี่ปุ่นซึมยาวนานทั้งที่นโยบายการเงินของญี่ปุ่นเองคือตรึงดอกเบี้ยไว้ต่ำมากๆ ยาวนาน ว่าไม่เต็มทีจนถึงที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าในความคิดของเบอร์นันเก้เองนั้นมีความตั้งใจทำคิวอีและคงดอกเบี้ยของสหรัฐจนกว่าระดับการว่างงานจะลงมาต่ำกว่าระดับที่ต้องการหรือต่ำกว่า 6.5 % แต่ติดที่ข้อจำกัดที่มี
ส่วนทิศทางค่าเงินดอลล่าร์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นมามาก 


มาถึงเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ อาจทำให้หลายๆ ท่านที่คาใจ ว่ามีคิวอีแล้วทำไมทองลง 
ในรูปเป็นกราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งผมตามดูมาซักระยะ เพื่อทำความเข้าใจอะไรบางอย่าง ปกติแล้ว นโยบายการเงินที่ออกมาใช้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตลาดจริงๆ หมายถึง ถ้าเฟดประกาศจะซื้อพันธบัตรเพื่อกดให้ดอกเบี้ยต่ำลง เพื่อให้เกิดการกู้ยืมไปลงทุน ผลักดันให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจอย่างที่ตั้งใจ ซึ่งถ้าอัตราผลตอบแทนลดลงก็แปลว่าตลาดตอบรับ แต่ถ้าในทางตรงกันข้ามแล้ว คือดอกเบี้ยบอนด์กลับสูงขึ้นก็คือตลาดตอบรับไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งหลังจากต้นเดือนมกราคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ถ้าจำไม่ผิดคือเป็นช่วงที่มีประธานเฟดสาขาหนึ่งออกมาบอกถึงข้อจำกัดที่อาจทำให้ทำคิวอีไม่ได้นานอย่างที่มองไว้ หรือทำคิวอีได้สั้นกว่าที่คาด เงินน้อยลง ทองก็ลง ประมาณนั้น หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีจอร์จ โซรอสก็ออกมาสำทับว่าเฟดจะปรับดอกเบี้ย Fed Fund Rate ขึ้นจากระดับต่ำสุด 0.25 % ภายในสิ้นปีนี้ซึ่งเร็วกว่าที่เบอร์นันเก้บอกไว้กว่าปีหรือบอกไว้ว่าจะปรับขึ้นราว 2015 เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ขอบอกไว้ 2 ประเด็น 1. คือ ต้องไม่ลืมนะครับว่าคิวอีที่พิมพ์เงินเข้ามาในตลาดด้วยการซื้อบอนด์ มาตลอดสามสี่ปี จะมีวันที่เค้าขายบอนด์และเอาเงินกลับคืนหรือที่เรียกว่า Exit Strategy เป็นเรื่องที่รับรู้กันไว้แต่แรกทำคิวอี 1 แล้วนะครับ มีเข้าก็มีออก ยิ่งเวลาผ่านไปเท่าไหร่ก็ยิ่งคืบเข้าใกล้วันนั้นไปทุกทีครับ 2. สิ่งที่เราต้องเข้าใจว่า เฟด ปรับดอกเบี้ยตามการเคลื่อนไหวของตลาดเงิน ไม่ใช่ตลาดเงินปรับตามที่ประกาศอย่างเดียว อย่างแรกคือปกติแล้ว เค้าจะ ส่งสัญญาณก่อนปรับจริง เพื่อให้ตลาดปรับตัวก่อนจะได้ไม่ผันผวนเกินไปในตลาดการลงทุน ซึ่งในหลายๆ ครั้ง  Yield  ในตลาดจะปรับตัวก่อนที่เฟดจะประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อตลาดปรับขึ้นมาในระดับนี้แล้วและถ้ายังขึ้นเรื่อยๆ ภายในปีนี้ก็ให้ระวังเฟดปรับประมาณการไว้ครับ แม้ในการให้สัมภาษณ์ล่าสุดจะยังยืนยันว่าจะคงไว้ต่อไปแม้จะเอาเงินออกจากระบบแล้วก็ตาม(Exit Strategy) เริ่มพูดเป็นนัยๆแฮะเสียว
ประเด็นหลักต่อมาผมได้คำตอบเรื่อง Yield มาจากหนังสือ Money&Wealth เล่มล่าสุดซึ่งเค้าพูดมากกว่านั้นเรื่องของปริมาณเงินในระบบของสหรัฐเอง เค้าบอกว่า M1 และ M2 อัตราการหมุนเวียนมันลดลงครับ
M1 และ M2 นี้เป็นเม็ดเงินที่ถูกแบ่งประเภทออกมาเพื่อให้สามารถออกนโยบายมาจัดการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาให้เงินไม่เฟ้อไป ไม่ฝืดไป ซึกปกติแล้ว เงินในระบบเริ่มแรกจะมีไม่มากแต่เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วมันจะเพิ่มขึ้นหลายเท่า ผ่านระบบธนาคาร เช่นเงิน 100 บาท เราเอาเงิน 100 บาทไปฝากธนาคารไว้ ธนาคารก็จะนำเงินเรานั้นไปออกดอกผลเช่นให้กู้ยืมบ้างอะไรบ้างสมมติว่าให้กู้ไปทั้ง 100 บาทคนที่กู้เงินนั้นก็นำไปจ่ายค่าสินค้า ค่าแรงเมื่อคนที่ได้รับเงินนั้นก็นำไปฝากธนาคารอีกที หมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างนี้ เงินในระบบจึงมีมากขึ้น แปลว่าถ้าเงินมีอัตราหมุนเวียนที่สูง เงินก็อาจจะเฟ้อขึ้นแต่ถ้ามีอัตราการหมุนเวียนที่ต่ำลงเงินจะเฟ้อน้อยลงหรือที่เราเรียกว่าเงินฝืด 
ทองคำจะมีทิศทางเป็นบวกถ้าเงินเฟ้อและเฟ้อเพิ่มขึ้นในทางตรงกันข้ามถ้าเงินเฟ้อน้อยลงราคาทองก็ปรับลง 
แปลว่าการออกคิวอีในรอบหลังๆ แม่้จะตั้งเป้าว่า Unlimite แต่กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ประสิทธิภาพของคิวอีกลับลดลง ไม่เป็นอย่างที่คิดไว้แต่แรก และนี่คือข้อจำกัดอีกอย่างของเฟดที่อาจทำให้ต้องล้มเลิกคิวอีกก่อนเวลาที่คาดไว้ ซึ่งส่วนตัวผมเดาเอาว่าเป็นเหตุผลมาจากสองประการ1. Fiscal ที่สุดท้ายก็ปรับขึ้นภาษีอยู่ดี และยังค้างมติไว้ในบางเรื่องมาตัดสินใจในภายหลัง 2. เพดานหนี้สหรัฐที่ตอนนี้ติดเพดานแล้วที่ระดับกว่า 16 ล้านล้านเหรียญ ภาครัฐมีปัญหาเรื่องการเบิกจ่าย ซึ่งเป็นเม็ดเงินหลักทางหนึ่งที่จะหยุดชะงักไป
โดยสรุปแล้ว เหตุผลที่ทำไมทองลง ทั้งๆที่มีคิวอีที่่รออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดเดือนละ 85,000 ล้านเหรียญ ไปอีกราว 10 - 12 เดือนหรือเกือบ 1 ล้านล้าน นั้นเกิดขึ้นพร้อมกับข้อจำกัดหลายทางซึ่งรวมไปถึงทางการเมืองด้วย และผลตอบรับจากตลาดไม่เป็นอย่างที่เคย เมื่อเข้าใจมากขึ้นแล้วจะได้ช่วยลดอคติลงได้บ้างครับ เช่นคิวอีทองขึ้น ตรุษจีนทองขึ้นอะไรประมาณนั้น 
แต่ไม่ได้หมายถึงผมมองลงหนักๆ นะครับสำหรับช่วงต่อไปนี้ ผมให้เรื่องพวกนี้เป็นรอง ทิศทางราคาเป็นหลัก อาจนำปัจจัยพื้นฐานมากำหนดกรอบใหญ่ แต่ในช่วงการปรับตัวคงยังมองที่เทคนิคเป็นหลัก ซึ่งในช่วงนี้ผมเองตามสังเกตแรงซื้อตามจุดแนวรับต่างๆ ที่อาจเป็นจุดกลับตัวขึ้น หรือรีบาวด์ขึ้นซักชุดอยู่ครับ 
สังเกตตามแนวนี้ครับ 1625 1630 1638 และเมื่อเด้งตัวได้ดี ค่อยมาหาจุดขายอีกทีครับ จะแค่ 1665 หรือ1695 ก็มาดูกัน สัปดาห์นี้มีของแถมครับ แต่ต้องยกยอดไปพรุ่งนี้เกี่ยวการคาดการณ์ Demand และ Supply ของทองคำในปีนี้ จากเว็บ CME Group ครับผม

Wealthstation Guide 14.2.56


การกลับยืนเหนือ 1645 ได้ในวันนี้จะทำให้มีลุ้นรีบาวด์ได้รอบนึงครับ ถ้าผ่าน 1645 น่าจะขึ้นทดสอบแนว 1648 1652 1656
แต่ถ้าไม่ได้คงต้องย่อมาบริเวณ 1632 1635ก่อนครับ 
เที่ยงนี้พบกับ Mainframe เช็คอาการในภาพหลัก ค่าเงินบาท ทิศทางค่าเงินสกุลหลัก และคำอธิบายคิวอีว่าทำไมคิวอีแล้วทองลงครับ


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Wealthstation Guide 13.2.56


ทิศทางราคาทองฟื้นตัวมาทดสอบแนวต้าน 1652 แล้วย่อตัวมาเล็กน้อย
มีแรงหนุนในระดับพอได้ โดยการกลับตัวยังต้องอาศัยแรงที่มากกว่านี้ สำหรับวันนี้คงลุ้นว่า
1. บ่ายนี้จะหลุดต่ำกว่า 1646 - 1648 ลงมาไหม ถ้าหลุดอาจได้เห็น 1632 - 1635 
2. ถ้าไม่หลุด 1646 - 1648 จะขึ้นสุดแค่ไหน 1653 1656 1660
จุดหลักในการเข้าซื้อคือจุดที่ดูมีแรงหนุนที่ดี ยังต้องดูตามแนวรับหลักๆ ที่ 1620 1630 1640 ครับ
ผมได้โทรคอนเฟิร์มเรื่องคลาสวันเสาร์นี้ไปแล้วนะครับสำหรับท่านที่ไม่ได้รับการคอนเฟิร์ม แต่ส่งชื่อมาแล้วแปลว่าตกหล่นรบกวนส่งเมล์มาแจ้งอีกทีครับ


วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Wealthstation Guide 12.2.56


ทิศทางราคาทองมีสัญญาณฟื้นตัวได้เล็กน้อยหลังแนวหนุนบริเวณแนวหนุน 1640 - 1643 ทำงานแบบ "พอได้" 
มองระยะไม่ไกลนักครับ ราว 1652 1656 ไม่เกิน 1665 
 ประเด็นหลักคือเบรกกรอบสามเหลี่ยมแล้วเลือกทางลง แล้วเกิด Lower Low หรือหลุดแนว 1650 ลงมา จึงมองว่ามีโอกาสเด้ง รีบาวด์ได้บ้าง แต่ถ้าทรงไม่ดีอาจลงต่ออีกครับ
จะแก้ทรงให้กลับดูดีได้ต้องให้สามวันจากนี้ยืนเหนือ 1650 - 1652 ได้ครับ แต่ถ้ารีบาวด์แล้วกลับมาจ่อ 1640 - 1645 อีกครั้งก็เตรียมลงไปแนว 1625 1635 หรือต่ำกว่าครับ


มามั่ง/ไม่มามั่ง by นักขายหมูขอรับ(11.2.56)

หมดตรุษจีนไปแบบไม่ได้ลุ้นอะไรเลย บอกตามตรงว่าสัปดาห์นี้ ..ข้าน้อยมึนขอรับ.. เดาทางทองไม่ถูก รู้แต่ใกล้จะวิ่งแล้วล่ะ แต่จะไปทางไหนไม่รู้ เพราะตามสถิติที่ผ่านมา หลังตรุษจีนมัน 50/50 อาจมีแรงซื้อดันหรือขายทิ้งก็ได้ บางปีซื้อหลอกล่อไปทุบเดือนหน้าก็มี เพราะฉะนั้น อาทิตย์นี้ผมว่ารอไปก่อนดีกว่า อย่าเพิ่งทำอะไรเลย ให้มันแกว่งเบา ๆ ก่อน จะได้เห็นแนวโน้ม แล้วค่อยจ้วงตามจังหวะที่เกิด ส่วนดัชนีหุ้นไทยที่เคยบอกให้เก็งกำไรพร้อมกับทองไปตอนกลางเดือนที่แล้ว ตอนนี้ก็แบ่งขายออกมาบ้างนะขอรับ 
มาดูเมฆกันใกล้ ๆ ให้ต้านสั้น 1674 ต้านหลักของรอบนี้ 1680-1685 แนวรับสำคัญ 1625-1630 สัปดาห์นี้น่าจะแกว่งอ่อน ๆ แต่พร้อมจะออกตัวแรงได้ทุกเมื่อ ฉะนั้น ถึงไม่มีโอกาสให้เทรด แต่ต้องระวังเสียงนกหวีดเสมอ





วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Wealthstation Guide 11.2.56


ซินเจี่ยอยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้
สะสมบุญ สั่งสมความดี 
โชคลาภ วาสนา เกื้อหนุน
ทิศทางราคาทองลงมาจ่อที่แนวหนุนหรือแนวรับสำคัญ 
มองย้อนกลับไปข่าวเชิงลบต่อทองมีมาเรื่อยๆ และที่เราเข้าใจว่าข่าวดีก็อาจไม่ใช่ข่าวดีอย่างที่เราคิด
วันนี้ทรงตัวเหนือ 1670 - 1672 ได้จะดูดีขึ้นเล็กน้อย และถ้าหลุด 1660 - 1665 ก็จะดูไม่ดีมีสิทธิไปลึกถึง 1615 1625 กันเลยครับ