วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Morning guide 31.8.55



วันนี้ผมมองว่าจะได้เห็น 1645 1640 ซึ่งตอนที่ลงมาแถวนั้นน่าซื้อครับ เป้าหมายมองไว้ที่ 1660 1665 ครับ

ตอบคำถามลูกค้าท่านนึงนะครับไม่รู้จะได้มาอ่านหรือเปล่าแต่คงตรงใจหลายท่านที่นี้คือถ้ายังติดอยู่แถว 1700 1720 หรือยังอยากถือต่อ ได้ไหม ส่วนตัวผมมองว่าเราคงเห็น 1700 -1720 ก่อนที่จะเห็น 1600 อีกครั้งครับ คือผมว่าเราคงไม่ได้เห็น 1600 ต้นๆ ไปอีกซักพักเลย แนวหนุนหลักที่ 1635 1645 ลงมาก็ซื้อขึ้นไปนะครับเป้า 1680 1700 แต่อาจต้องรอเสียหน่อย
ส่วนวันนี้ต้องมาวัดใจที่แนวรับสำคัญก่อนเบอร์นันเก้จะพูดในคืนนี้ "Jackson hole" เค้าจะพูดตอนที่ตลาดปิดไปแล้วเพราะฉะนั้นไม่อยากลุ้นก็ไม่ต้องถือข้ามไปครับถ้าผิดทางไปเสาร์อาทิตย์จะเที่ยวไม่สนุกเอา
ผมยังให้น้ำหนักว่าเบอร์นันเก้จะไม่พูดอะไรมากกว่าครั้งที่แล้วเกี่ยวกับ QE แต่ถ้าเค้าแพลมว่าอะไรคือมาตรการที่เค้าเตรียมไว้แล้วถ้าตลาดถูกใจทองจะวิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่งครับ
รายละเอียดมันเยอะเอาไว้พูดอะไร แล้วค่อยมาสรุปดีกว่า


สำหรับตลาดหุ้นบ้านเรา เช้านี้หุ้นเอเชียแดงเถือกกันเลยทีเดียว
แต่ไม่มาก ผมยังมองจังหวะกลับตัวถ้าหยุดลงในช่วงเช้าก็น่าเล่นรีบาวด์ครับเป้า 834 837ครับ


วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มามั่ง/ไม่มามั่ง by นักขายหมูขอรับ(30.8.55)


วันนี้เหมือนวันนั้น มองเมฆแล้วไม่ต่างกัน ยังอยู่ในกรอบปรับฐาน 20-30 เหรียญ เหมือนเดิม แต่คนที่ปิดเอสทำกำไรไปที่ประมาณ +20$ ตามที่แนะนำไว้ ก็ไม่ควรเปิดอะไรเพิ่มอีก เหลือบางส่วนติดพอร์ตไว้ลุ้นราคาคืนวันศุกร์ก็พอ เพราะถ้าพูดคำว่า "QE" คาดว่ามันจะวิ่งขึ้นพรวดเดียว $30 แล้วค่อยกระดึ๊บๆๆขึ้นต่อ แต่ถ้าเบอร์นันเก้หุบปากเงียบ ไม่บอกใบ้อะไรทั้งนั้น ก็มองว่าราคาจะร่วงระนาว $30 แล้วตามมาอีกระลอกราว $30
แนวต้าน 1665/1695/1700 แนวรับ 1643/1638/1633 
ก้อเอาเป็นว่า คราวนี้เขียนแนวรับแนวต้านตามเมฆ แต่โดยกลยุทธ์ไม่แนะนำให้เพิ่มพอร์ต แค่ทยอยลดพอร์ตตามแนวนั้นก็น่าจะปลอดภัยกว่า




Morning guide 30.8.55


ทิศทางราคาทองมาสู่กรอบล่างหรือแนวซื้อที่ 1652 ในคืนที่ผ่านมา หลังตัวเลขบ้านอย่าง Pending Home Sale ออกมาดีกว่าเล็กน้อย ตลาดเริ่มจับตาไปที่วันศุกร์นี้มากขึ้นอีกเมื่อเข้าใกล้วันศุกร์เข้าไปทุกที
ประเด็นที่ถูกคาดหมายคงไม่พ้นเรื่อง Quantitative Easing (QE) ภาค 3 วงเงิน 6แสนล้านเหรียญที่ว่าจะมีหรือไม่มี ในส่วนนี้ผมต้องย้ำอีกครั้งว่ามีโอกาสมากขึ้น แต่ยังไม่ใช่ที่ Jackson hole คราวนี้เพราะตัวเลขต่างๆ ไม่เอื้อแต่ในครั้งต่อๆ ไปต้องตามดูโดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานต้นเดือนหน้า ช่วงนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญตามดูกันหน่อย อีกประเด็นที่ผมให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือเค้าจะพูดเครื่องอื่นเป็นทางเลือกมาหรือเปล่าถ้ามีต้องมาสังเคราะห์กันครับ
แนวต้าน 1660 - 1662 1667 
แนวหนุน 1652 1643 1633 
ส่วนท่านที่ถือยาวหลุด 1660 แนวแรกที่ให้ไว้เมื่อวานลงมาแล้ว Sto รายวันก็ตัดแล้ว ถ้ายังไม่อยากขายอยากลุ้นต่อให้ดูวันนี้มันกลับไปยืน 1660 ได้ไหมถ้าได้ยังใจเย็นได้ครับ
ส่วนท่านที่เล็งไม้สั้น ผมเล็งที่ถ้ามันยืนที่ RSI ราย 4 ชม.ที่ 40 ได้อาจต้องซื้อคงราวๆ แนวที่ 1643 - 1652 ครับ หรือรอตัดเส้นเทรนด์ของ RSI ขึ้นไปก่อนค่อย Follow ก็ได้ครับปลอดภัยดี




ดัชนีหุ้นบ้านเราเมื่อวานทิ้งหนักตบท้ายด้วยการขายของต่างชาติพันกว่าล้านในวันทำการที่ผ่านมา
แนวรับลุ้นรีบาวด์ที่ 830 828 เล่นสั้นๆ ปิดที่ 836 838 840
คิดว่าวันนี้เปิดทรงๆ อาจมีแรงซื้อหนุนช่วงเช้านิดหน่อยแต่คงไม่พ้น 836 838 ผมว่ายังต้องรอสัญญาณซื้อที่เข้มกว่านี้อีกนิดเพื่อสำหรับการซื้อแล้วมองไกลหน่อย สำหรับเช้านี้มองแค่รีบาวด์สั้นๆ ครับ



วิเคราะห์เครื่องมือที่เฟดอาจนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ


xBT> FED:"รอยเตอร์"วิเคราะห์เครื่องมือที่เฟดอาจนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
        นิวยอร์ค--29 ส.ค.--รอยเตอร์

        ในขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่า 8 % และมีความ
เป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยโดยได้รับแรงกดดันจากวิกฤติหนี้
ยูโรโซนและจากแรงกดดันทางการคลังในสหรัฐ โอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ก็เพิ่มสูงขึ้น
        รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่  31 ก.ค.-1 ส.ค.แสดงให้เห็นว่า
เฟดมีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบ "ในเร็วๆนี้" นอกจากว่า
เศรษฐกิจสหรัฐจะปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
        เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงสู่ระดับใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค.
2008 เป็นต้นมา
        เฟดได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้จำนองไปแล้วรวมกัน 2.3
ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
ให้ลดต่ำลง และเฟดยังให้สัญญาอีกด้วยว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับต่ำ
เป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงปลายปี 2014 นอกจากนี้ เฟดยังดำเนินมาตรการ
Operation Twist ในช่วงที่ผ่านมาด้วย โดยมาตรการนี้คือการขายพันธบัตร
รัฐบาลสหรัฐระยะสั้นประเภทที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว
ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปในปริมาณเท่ากัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ย
ระยะยาวให้ลดต่ำลง
        เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนธ.ค.
2014
        นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด จะกล่าวต่อผู้กำหนดนโยบายในการ
ประชุมประจำปีที่เมืองแจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันศุกร์นี้
        ต่อไปนี้เป็นทางเลือกที่เฟดอาจจะนำมาใช้:-

        *การเข้าซื้อตราสารหนี้เพิ่มเติม
        เฟดอาจจะขยายงบดุลบัญชีที่มีขนาด 2.85 ล้านล้านดอลลาร์ออกไปอีก
โดยใช้วิธีเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ, เข้าซื้อตราสารหนี้จำนอง หรือเข้าซื้อ
ตราสารหนี้ทั้งสองประเภทนี้พร้อมกัน โดยเฟดเคยดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิง
ปริมาณ (QE) ไปแล้วสองรอบในช่วงที่ผ่านมา โดยเข้าซื้อสินทรัพย์จำนวนมาก
ภายใต้มาตรการดังกล่าว
        ในการประชุมเฟดครั้งล่าสุด ผู้กำหนดนโยบายบางรายสนับสนุนให้เฟด
ใช้มาตรการ "ที่มีความยืดหยุ่น" โดยมาตรการดังกล่าวจะไม่ระบุปริมาณเงิน
ที่แน่นอนที่เฟดจะใช้ในการเข้าซื้อตราสารหนี้ แต่จะอนุญาตให้เฟดเข้าซื้อตราสารหนี้
ได้มากหรือน้อยตามความจำเป็น
        ประโยชน์: การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 หรือ
QE3 มีแนวโน้มที่จะเป็นเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลที่สุดที่เฟดมีอยู่ และตลาดการเงิน
กับสาธารณชนก็มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับ QE ทั้งนี้ นายเบอร์นันเก้และ
เจ้าหน้าที่บางคนกล่าวว่า การดำเนิน QE1 และ QE2 ส่งผลให้อัตราผล
ตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีและพันธบัตรอื่นๆร่วงลง
ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนหันไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง และปัจจัยนี้ส่งผลบวก
ต่อตลาดหุ้น
        ความเสี่ยง: ถึงแม้เจ้าหน้าที่เฟดกล่าวว่า เฟดสามารถระบาย
สินทรัพย์จำนวนมากในงบดุลของเฟดออกมาได้ก่อนที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อ
แต่เฟดก็ไม่เคยทำเช่นนี้กับสินทรัพย์จำนวนมากเท่านี้มาก่อน ทางด้านสมาชิก
สภาคองเกรสสายอนุรักษ์นิยมกล่าวว่า เฟดควรที่จะงดเว้นจากการดำเนิน QE
ต่อไป โดยให้เหตุผลว่าการดำเนิน QE3 จะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและ
จะเป็นการเปิดโอกาสให้สภาคองเกรสและประธานาธิบดีสหรัฐหลีกเลี่ยง
การแก้ไขปัญหาทางการคลัง ทางด้านเจ้าหน้าที่เฟดเองก็ยอมรับว่า
เฟดมีข้อจำกัดในการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติม เพราะการเข้าซื้อ
พันธบัตรในระดับที่มากเกินไปจะส่งผลให้ตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
       
        *การยืดเวลาในการให้สัญญาเรื่องอัตราดอกเบี้ย หรือการใช้วิธีการ
ทางการสื่อสารอื่นๆ
        เฟดระบุในช่วงที่ผ่านมาว่า เฟดคาดว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
จะสนับสนุนให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมากต่อไปอย่างน้อยจนถึง
ปลายปี 2014 ทั้งนี้ รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.
ระบุว่า สมาชิกหลายคนในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด
(FOMC) สนับสนุนให้เฟดยืดเวลาในสัญญาดังกล่าวออกไป ถึงแม้ว่าสมาชิก
เฟดเลื่อนเวลาในการตัดสินใจเรื่องนี้ออกไปจนถึงเดือนก.ย.
        ประโยชน์: วิธีการนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความคิดเห็นขัดแย้ง
เหมือนกับ QE3 ซึ่งการระบุว่าเฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปี
2015 หรือหลังจากนั้นอาจช่วยควบคุมการคาดการณ์ในตลาด
        ความเสี่ยง: การยืดเวลาในการให้สัญญาเรื่องนี้อาจจะไม่ส่งผลบวก
ทางจิตวิทยาต่อตลาดมากเท่ากับที่เฟดต้องการ นอกจากนี้ ยิ่งเฟดยืดเวลาในสัญญา
ดังกล่าวออกไปในอนาคตมากเพียงใด สัญญาดังกล่าวก็จะยิ่งมีความน่าเชื่อถือน้อยลง
เพียงนั้น เพราะวาระการดำรงตำแหน่งประธานเฟดของนายเบอร์นันเก้ในสมัย
ปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในเดือนม.ค.2014 และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่านายเบอร์นันเก้
จะยังคงดำรงตำแหน่งประธานเฟดหรือไม่ในช่วงเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว
       
        *การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับทุนสำรองของธนาคารพาณิชย์
        เฟดจ่ายอัตราดอกเบี้ย 0.25 % ให้แก่ทุนสำรองที่ธนาคารพาณิชย์
ฝากไว้ที่เฟด และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจเป็นการบังคับให้ธนาคาร
พาณิชย์นำเงินดังกล่าวออกไปปล่อยกู้
        ประโยชน์: วิธีการนี้จะเป็นการกระตุ้นธนาคารพาณิชย์ และเป็น
เครื่องมือที่เฟดพร้อมจะนำมาใช้เพื่อทำประโยชน์จากทุนสำรองจำนวนมาก
ที่เฟดสร้างขึ้นมาด้วยการขยายขนาดงบดุลของตนเอง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป
(อีซีบี) ได้ดำเนินมาตรการที่คล้ายคลึงกันไปแล้ว และได้รับประโยชน์จาก
มาตรการดังกล่าว
        ความเสี่ยง: นักเศรษฐศาสตร์ของเฟดสาขานิวยอร์คระบุว่า
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับ 0.25 % ในปัจจุบันจะไม่ก่อให้เกิด
ความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์บางรายยังกังวลอีก
ด้วยว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนี้จะสร้างความเสียหายต่อกองทุนรวม
ในตลาดเงิน เพราะกองทุนประเภทนี้จะประสบความยากลำบากในการ
ดำเนินงานถ้าหากอัตราดอกเบี้ยนี้เข้าใกล้ระดับ 0 % มากยิ่งขึ้น

        *การใช้ discount window ของเฟด
        นายเบอร์นันเก้เคยระบุว่า discount window เป็นเครื่องมือหนึ่ง
ที่เฟดสามารถนำมาใช้ในการผ่อนคลายนโยบายลงต่อไป
        Discount window คือช่องทางที่ธนาคารพาณิชย์ที่รับฝากเงินสามารถ
กู้ยืมเงินโดยตรงจากเฟดเมื่อใดก็ตามที่ธนาคารแห่งนั้นไม่สามารถระดมทุนจาก
ช่องทางอื่นๆได้ อย่างไรก็ดี ตลาดไม่ได้มองว่าช่องทางนี้เป็นเครื่องมือหนึ่ง
ที่เฟดอาจนำมาใช้ในการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงต่อไป เนื่องจากธนาคาร
พาณิชย์มักหลีกเลี่ยงจากการกู้เงินใน discount window เพราะเกรงว่า
การกระทำดังกล่าวจะทำให้ตลาดมองว่าธนาคารแห่งนั้นมีสถานะอ่อนแอมาก
จนไม่สามารถระดมทุนที่จำเป็นในตลาด
        ถึงแม้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับใกล้ 0 % ในช่วง
ที่ผ่านมา แต่เฟดก็เรียกเก็บดอกเบี้ย 0.75 % จากการปล่อยกู้ผ่าน discount
window ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการรับประกันว่าเฟดไม่ได้ให้ทุนอุดหนุนธนาคาร
พาณิชย์
        ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เฟดจะใช้วิธีการใดในการทำให้ discount
window กลายเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์กันว่า
เฟดอาจวางโครงการในการให้แรงจูงใจแก่ธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยกู้
        ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ได้ประกาศโครงการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
แก่ธนาคารพาณิชย์เมื่อเร็วๆนี้ โดยมีข้อแม้ว่าธนาคารพาณิชย์ในโครงการนี้จะต้อง
นำเงินดังกล่าวไปปล่อยกู้แก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ขณะที่ในการประชุมกำหนด
นโยบายเฟดในวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.นั้น เจ้าหน้าที่เฟด 2-3 รายแสดงความ
สนใจที่จะนำแนวคิดของ BOE มาปรับใช้ในสหรัฐด้วย แต่เจ้าหน้าที่เฟดตั้งข้อสังเกต
ว่ามีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างอังกฤษกับสหรัฐ
        ประโยชน์: discount window ถือเป็นเครื่องมือที่เฟดพร้อมที่จะนำมาใช้
        ความเสี่ยง: การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับที่ต่ำอยู่แล้วอาจจะส่ง
ผลบวกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า การจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ย
ต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์จะกระตุ้นอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้มาก
เพียงใด โดยเฉพาะการจัดหาเงินกู้ผ่านทางกลไกที่อาจสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
ของธนาคารพาณิชย์แบบนี้ โดยการปล่อยกู้เพิ่มเติมผ่านทาง discount window
จะเป็นการขยายขนาดงบดุลของเฟดด้วย ซึ่งอาจทำให้ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
เพิ่มสูงขึ้น--จบ--
       
        (รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)    
        ((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 0-2648-9741;    
Reuters Messaging: jit.phokaew.reuters.com@reuters.net))



วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Morning guide 29.8.55


ทิศทางราคาทองทรงตัว ไม่ทิ้งตัวมา แต่ย่อมารอข่าว
ผมบอกได้ว่าสามคืนที่เหลือในสุดสัปดาห์นี้ชวนให้ติดตามเหลือเกิน
คืนนี้ Beige Book
พรุ่งนี้ unemployment claim
และคืนวันศุกร์ Bernanke Speak
ประเด็นคราวนี้คงไม่พ้นเรื่อง QE แต่สำหรับผมมันหมายถึง More easing  ว่าจะพูดอะไรเพิ่มขึ้นไหมหลังคราวที่แล้วเปิดทางไว้ ความมั่นคงในทางการเมืองของเบอร์นันเก้ที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเป็นไปได้ที่เราจะเห็น "More Easing" มากขึ้นด้วย เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจเอื้อเพียงพอ
แนวหนุน 1650 1662 
แนวต้าน 1668 1672 1677
ผมว่าผมคงไม่ถือแอลหรือซื้อถือข้ามช่วงที่ประกาศ Beige Book หรือตอนที่เบอร์นันเก้พูด เพราะว่าเฉพาะในคราวนี้สถานการณ์ยังไม่เอื้อพอนะครับ โอกาสผิดหวังมีสูงเพราะขึ้นมารับข่าวพอควรแล้ว ไว้ลงมาที่แนวรับหรือ เกิดสัญญาณซื้อในกราฟระยะสั้นเราค่อยซื้อดีกว่าสำหรับสามวันนี้
ปล. สัญญาเดือนสิงหาคมจะหมดอายุในวันพฤหัสนี้นะครับ อย่าลืม ท่านที่ติดในซีรีย์นี้มาอย่างยาวนานก็คงออกได้กันบ้างนะครับ



  

หรับตลาดหุ้นบ้านเราเมื่อวาน สัญญาฟิวเจอร์เดือนกันยายนแตะ 847แล้วทิ้งตัวช่วงปลายตลาด มาอยู่ระดับ ใกล้กับราคาเปิด
แนวโน้มกลับตัวลง ในกราฟรายวัน Sto ตัดลงแล้ว สำหรับแนวราคาคือหลุด 841 ลงมาก็ตั้งเป้าหลักไว้ที่ 830 ครับ ลงมาจะมีการดีดตัวเล่นขารีบาวด์ได้รอจังหวะนั้นครับ 
ถ้าไม่หลุด 841 ก็ต้องไปดูแนวต้านที่ 847 อีกรอบครับผม

มีความเคลื่อนครั้งใหญ่เข้ามาในตลาดฟิวเจอร์บ้านเรานะครับเริ่มใช้กันวันที่ 24 ตุลาคม ไว้บอกรายละเอียดอีกทีครับ



วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Morning guide 28.8.55


                ราคาทองพักตัวลงมาเล็กน้อย ต่ำสุดที่ 1662 ลงตามคาดแต่ลงมาน้อยนิดเท่านั้น ไม่หนำนะครับไม่หนำ
ยังควรจะลงมาอีกหน่อยครับ อย่างน้อย  RSI ราย 4 ชม.ก็ควรจะลงมาที่ 50 ทำให้ราคาน่าจะลงมาถึง 1652 - 1655 ที่เป็นเป้าหมาย เป็นอย่างน้อย แต่ถ้ามีสัญญาณซื้อเข้ามาในกราฟรายครึ่งชม.อาจเล่นเด้งได้นะครับ จุดซื้อ จุดขายต้องดูกันอีกทีครับ 
แนวต้านที่ 1668 1672 
แนวหนุนที่ 1645 1652 1658 1662




               ตลาดหุ้นบ้านเราขึ้นทดสอบแนวต้านเมื่อวานแล้วทิ้งตัวลงมา 5 จุดทันที มีสัญญาณหลุดแนวในกราฟราย ชม.ออกมา และ MACD ลุ้นตามสัญญาณอินดิเคเตอร์ก็มองลงนะครับ เป้าที่ 838 แต่ต้องลุ้นให้หลุด 842 เสียก่อน เป้าการพักตัวหลักอยู่ที่ 830 ครับ 
แนวต้าน 848 852 
แนวหนุนที่ 842 838 830



วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มามั่ง/ไม่มามั่ง by นักขายหมูขอรับ(27.8.55)


ระยะสั้นชะลอตัวตามคาด แต่สร้างกรอบการพักตัวน้อยกว่าที่คิดไว้
ก็ยังยืนยันว่ามองระยะพักตัวระดับ 20-30 เหรียญ จึงควรสะสมเอสในกรอบ 1660-1680 ต่อไป
มองการ error ไม่เกิน 1700 และให้สัญญาณเตือนการลงเมื่อหลุึด 1670
ก็เอาเป็นว่า ถ้าราคาร่วงจริงแล้วกำไรขาเอสประมาณ $20 ก็ทยอยออกก่อนได้
ช่วงนี้เน้นเล่นรอบสั้น ขึ้นก็ขาย ลงก็ซื้อ
แต่เนื่องจากมีประชุมใหญ่ FED ศ.-อา. ก็อาจทำให้ราคาแกว่งเล่นไม่ยอมไปไหนก็ได้ ดังนั้น ถ้าเข้าตอนนี้อาจต้องทนถือไปด้วย


morning guide 27.8.55


ทองลอยติดลมบนที่ 1677 ในเช้านี้ ยังไม่ยอมตัดลง ในสัปดาห์นี้มีปัจจัยให้ทองย่อลงมาบ้าง ในวันพุธและศุกร์ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เราจะตามตัวเลขเศรษฐกิจกันมากกว่าเดิม เพราะจะมีนัยยะมากกว่าช่วงที่ผ่านมา
ทางเทคนิค ท่านที่อยากให้ลงต้องลุ้นให้หลุดแนว 1665 ลงมาก่อนครับเพื่ออินดิเคเตอร์ดูอ่อนแรง มองเป้าหมายที่ 1645 1650 
สำหรับท่านที่ยังไม่อยากขาย ให้แนวหนุนที่ 1645 1660 ครับยังไม่หลุดแนวนี้ก็ยังถือได้








สำหรับตลาดหุ้นบ้านเรา เช้านี้สดใสพอควรหลังดาวน์โจนส์ปิดบวกได้ นิเคอิก็เปิดบวกตามมา 0.4 % แนวโน้มค่อนข้างทรงตัวสำหรับวันนี้ อาจเห็นย่อตัวได้ถึง 840 - 842 ถ้าทรงตัวที่ 847 ไม่ได้
และถ้าแรงดีอาจเห็น 852 อีกครั้งแรงขายต่างชาติดในสัปดาห์ที่แล้วที่ขายติดๆ กัน เป็นมุมมองเชิงลบ ไม่น่าไปต่อได้ไกล

Weekly Report 20 - 24 ส.ค. 55


พระเอกประจำสัปดาห์นี้คงไม่พ้นทองคำที่พุ่งทะยานราว 3.5 % มีเพียงดัชนีหุ้นบ้านเราเท่านั้นที่ยังทรงตัวในแดนบวกอยู่ได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ราว 1 %  ส่วน Dollar Index ปรับตัวลงหนักสุดในกลุ่มที่เลือกมา คือลบไป 1.1 % ส่วนดัชนีหุ้นวอลล์สตรีทและเยอรมันก็ย่อตัวหลังจากรับข่าวดีจากทางยุโรปไปก่อนหน้าแล้ว


 ความสำคัญในสัปดาห์หน้านี้คงไม่พ้นวันพุธกับวันศุกร์นี้ เนื่องจากจะมีการรายงาน Beige Book และ เบอร์นันเก้ Speak หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแพลมเรื่องความเป็นไปได้ที่จะทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้น มีประเด็นนิดหน่อยประกอบเพื่อให้เข้าใจ การออกมาตรการเพิ่มเติมต้องดูสองอย่างเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ควรทำคือตัวเลขเศรษฐกิจกับเงินเฟ้อ เข้าใจว่าถ้าเงินเฟ้อต่ำกว่า 2 % และตัวเลขเศรษฐกิจไม่ดี ต้องบอกว่าเท่าที่ผ่านตัวเลขที่ผ่านมาดีพอใช้ได้ ไม่ได้เลวร้ายอะไร และเงินเฟ้อก็สูงกว่า 2 % ทำให้ถ้ามองด้วยเหตุผลยังไม่คิดว่าเฟดจะพูดอะไรไปมากกว่าเดิม ทำให้การเข้าใกล้ช่วงที่ลุงเบนจะพูดนั้นนักลงทุนจะต้องลดพอร์ต ลดความเสี่ยงในสัปดาห์นี้


ทิศทางราคาทองในภาพรวม เบรกกรอบแนวลงขึ้นมาทุกแนวแล้ว เหลือเพียงแนวต้านในภาพหลักที่ 1677 1724 1770 ทางด้านเทคนิคแล้ว RSI รายวัน ขึ้นมาแตะ 70 แล้ว กรอบแนวขึ้นที่ฟอร์มตัวมานานนี้ก็จวนเข้าขอบบนแล้ว อาจมีฟอร์มตัวก่อนลง หรือลงเลยก็ได้ สำหรับผมไว้หลุดกรอบ RSI ได้ผมจะเอสตาม ช่วงนี้คงต้องรอกระแสมันลดความร้อนแรงลงก่อน แนวหนุนหลักในช่วงนี้เค้าว่า 1645 

กลับมาที่บ้านเรา ฝรั่งขายสุทธิมาติดๆ กันหลายวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะพยายามทรงตัวไว้ได้ก้ตาม


สำหรับทรงกราฟ SET Index Futures สัญญาเดือนกันยายน ทะลุกรอบแนวลงขึ้นมาเหมือนทอง แต่ติดยอดเดิมที่ 850 อินดิเคเตอร์อ่อนตัวแล้วมีโอกาสพักตัวก่อน แนวพักตัวก็อยู่แถว 840 830 820

              โดยรวมๆ สินทรัพย์หลายๆ ตัวฟื้นตัวได้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กำลังจะเข้าสู่ช่วงพักตัว ทองขึ้นตามข่าวเฟด หุ้นตามข่าวยุโรป ซึ่งจะมีจุดหักเหในช่วงสัปดาห์หน้าและสัปดาห์ต่อไป ทั้งสองผู้ให้นโยบายธนาคารกลางได้ให้ความหวังไว้ก่อนหน้าว่าจะมายืนยันและทำตามที่ได้บอกไว้หรือไม่
             แถมท้ายนิดๆ เรื่องความคืบหน้าเรื่องเลือกตั้งสหรัฐ ได้ข่าวว่าโอบาม่านอนมาพอควร แต่ในสถานการณ์ที่ผลิกผัน รอมนี่ก็ได้ยืนยันว่าจะให้เบน เบอร์นันเก้เป็นประธานเฟดต่อไป ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เบนกล้าที่จะทำอะไรมากขึ้นในช่วงนี้หลังจากเงียบไปครึ่งปี ก็ต้องตามดูและให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศมากขึ้นครับ